วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การวิเคราะห์สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง นกกางเขน

การวิเคราะห์สื่อมัลติมีเดีย
ชื่อสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เรื่อง นกกางเขน
สื่อการเรียนการสอนในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ลักษณะมัลติมีเดีย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษา
จากเว็บไซด์ http://www.horhook.com/content/NokKangKhean/index.htm

ในปัจจุบันสื่อมัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสาน สื่อหลายชนิด การใช้สื่อมัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้หรือทำกิจกรรมรวมถึงดูสื่อต่างๆ ด้วยตนเองได้สื่อต่างๆที่นำมารวมไว้ในสื่อมัลติมีเดีย เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ จะช่วยให้เกิดความหลากหลายในการใช้คอมพิวเตอร์อันเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในแนวทางใหม่ที่ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์น่าสนใจ และเร้าความสนใจเพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
สื่อมัลติมีเดียที่นำมาวิเคราะห์ เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ลักษณะมัลติมีเดีย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับประถมศึกษา เรื่อง นกกางเขน ดังนี้
การใช้หลักการ แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้
สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง นกกางเขน ได้ใช้ทฤษฎีของเพียเจต์และทฤษฎีของกัทธรีมาประยุกต์ในการผลิตสื่อเพื่อการเรียนการสอน โดยอาศัยลำดับขั้นตอนของทฤษฎีการเรียนรู้เหล่านี้
จากทฤษฎีลำดับขั้นทางสติปัญญาของเพียเจต์ ซึ่งได้ศึกษาพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กเป็นขั้นๆ แบ่งเป็น 4 ขั้นใหญ่ คือ
1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว
2. ขั้นเตรียมสำหรับความคิดที่มีเหตุผล
3. ขั้นปฏิบัติการคิดโดยใช้สิ่งที่เป็นรูปธรรม
4. ขั้นปฏิบัติการคิดโดยใช้นามธรรม
ซึ่งในขั้นที่ 3 คือ ขั้นปฏิบัติการคิดโดยใช้สิ่งที่เป็นรูปธรรม เป็นระยะที่เด็กมีอยู่ระหว่าง 7-8 ปี ถึง 11-12 ปี เมื่อถึงขั้นนี้เด็กจะสามารถ คิดแบบตรรกวิทยาได้ แต่เป็นการคิดเชิงรูปธรรมมากกว่านามธรรม
ดังนั้นสื่อมัลติมีเดียนี้ใช้หลักการ ทฤษฎีของเพียเจต์ มาประยุกต์ในการทำสื่อการเรียนการสอน ที่ประกอบไปด้วย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ข้อความ เป็นต้น ซึ่งเหมาะสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา เพราะเป็นการสร้างแรงจูงใจต่อการเรียนและเป็นการปลูกฝัง สร้างจิตสำนึกให้กับผู้เรียน ตามทฤษฎีของกัทธรี ในการสร้างแรงจูงใจ
สื่อนี้ประกอบไปด้วยชื่อเรื่อง คำนำ ซึ่งในคำนำนั้นได้บอกว่าสื่อนี้เป็นลักษณะมัลติมีเดีย บอกผู้แต่งนิทาน คณะผู้จัดทำ ได้นำเรื่องมาจากหนังสือส่งเสริมรักการอ่าน ระดับประถมศึกษา สื่อนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลที่หลากหลาย น่าสนใจ ซึ่งประกอบไปด้วย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ข้อความ เนื้อเรื่อง ที่ประกอบไปด้วย รูปภาพเคลื่อนไหว และภาพนิ่งที่ชัดเจน ซึ่งมีความสอดคล้องกับทฤษฎีของเกสตัลท์ กฎแห่งความชัดเจน มีตัวหนังสือของเนื้อเรื่องเป็นสีม่วงเข้มประกอบกับภาพพื้นหลังที่ดูแล้วสบายตา ทำให้ดึงดูดสายตาได้ดี ทั้งหมดนี้ก็ได้สอดคล้องกับ ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ที่มีแนวคิดว่า พฤติกรรมต้องมีสาเหตุมากระตุ้น คือ สิ่งเร้า (Stimulus) และส่งผลต่อการตอบสนอง (Response) และมีคำเชื่อมที่แทนด้วยตัวหนังสือสีแดง เมื่อเอาเม้าส์ไปชี้ ก็จะปรากฏคำอธิบายเพิ่มเติมขึ้นมา ทำให้นักเรียนเข้าใจความหมายและได้เรียนรู้จากคำเชื่อมเหล่านั้นได้ง่ายมากขึ้น ตามกฎแห่งความคล้ายคลึงของเกสตัลท์ ที่อธิบายว่าเป็นการวางหลักการการรับรู้ในสิ่งที่คล้ายคลึงกันเพื่อจะได้รู้ว่าสามารถจัดเข้ากลุ่มเดียวกันได้ รวมทั้งยังมีการเล่านิทานให้ฟัง น้ำเสียงที่ใช้ในการเล่านิทานชัดเจน น่าตื่นเต้นและน่าติดตาม มีการเล่านิทานตั้งแต่หน้าแรกจนกระทั่งถึงหน้าสุดท้ายของเรื่อง มีการอธิบายลักษณะของตัวละครในเรื่อง และในเนื้อเรื่องมีภาพเกี่ยวกับธรรมชาติ เช่นภาพในป่า มีสัตว์ต่างๆ มีการเล่าบรรยายบริบททั่วๆไปของตัวละครและธรรมชาติ มีการสอดแทรกเนื้อหาทางวิชาภาษาไทยเข้าไปด้วย ทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้เนื้อหาไปในตัวและไม่น่าเบื่อเรียนได้อย่างมีความสุข ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของเกสตัลท์ ที่มีแนวคิดว่า การเรียนรู้เกิดจากการจัดประสบการณ์ทั้งหลายที่อยู่กระจัดกระจายให้รวมกันเสียก่อน แล้วจึงพิจารณาส่วนย่อยต่อไป
ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ลักษณะมัลติมีเดียนี้มีทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ที่มีสีสันสวยงามทำให้เด็กเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้นและสามารถมองเห็นภาพนามธรรมเป็นรูปธรรมได้ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งสอดคล้องตามหลักทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ว่าในการสอนควรใช้สิ่งที่เป็นรูปธรรม เพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจในลักษณะต่างๆ ได้ดีขึ้น แม้ในพัฒนาการช่วงความคิดแบบรูปธรรม เด็กจะสามารถสร้างภาพในใจได้ และในสื่อการสอนนี้เป็นอุปกรณ์ที่เป็นรูปธรรมจะช่วยในเด็กเข้าใจชัดเจนขึ้น อีกทั้งยังสอดคล้องกับทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์ ในขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้ และขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symobolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามได้ อีกทั้งสื่อการเรียนรู้นี้ยังให้แนวคิด การปฏิบัติตน ให้อยู่กับธรรมอย่างถูกต้อง ซึ่งสอนให้ผู้เรียนมีคติสอนใจเกี่ยวกับความเมตตา กรุณาต่อสัตว์ ไม่รังแกผู้ที่อ่อนแอกว่า ซึ่งสะท้อนให้เยวาชนเห็นคุณค่าในการอยู่ร่วมกัน ได้อย่างมีความสุข ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงความรู้ ตามทฤษฎีของออซูเบล ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ที่เชื่อว่า การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งที่รู้มาก่อน และทำให้เกิดการประมวลข้อมูลสารสนเทศขึ้นโดยสอนเชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียนรู้มาแล้ว การจัดเตรียมเนื้อหาอย่างเป็นระบบ ระเบียบ เพราะการเรียนรู้ของมนุษย์ซึ่งเปรียบเทียบได้จากการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง



สื่ออิเล็กทรอนิกส์ลักษณะมัลติมีเดียนี้ มีการจัดทำตาม 9 ขั้นของกาเย่ คือ
1. ขั้นสร้างความสนใจ
2. แจ้งจุดประสงค์ (แต่ในสื่อนี้ไม่ได้แจ้งจุดประสงค์ของเรื่องไว้)
3. ขั้นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้เดิม
4. ขั้นเสนอบทเรียนใหม่
5. ขั้นแนวทางการเรียนรู้
6. ให้ลงมือปฏิบัติ
7. ขั้นให้ข้อมูลป้อนกลับ
8. ขั้นประเมินผู้เรียน
9. ขั้นส่งเสริมความแม่นยำ
สรุป สื่อการเรียนการสอนนี้ได้นำทฤษฎีพฤติกรรมนิยมและทฤษฎีปัญญานิยมมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น และในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่นคอมพิวเตอร์ก็นำมาประยุกต์เป็นสื่อ คือคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มีการนำเสนอที่หลากหลายรูปแบบ ในสื่อการเรียนการสอนเรื่อง นกกางเขน จัดเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ลักษณะมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเรียกว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เป็นสื่อการเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือเพิ่มความน่าสนใจแก่ผู้เรียนและผู้เรียนมีความสุขในการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น