วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การวิเคราะห์สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง แมลง

การวิเคราะห์สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง แมลง
ผู้แหล่งที่มาของสื่อมัลติมีเดีย : http://www.horhook.com/content/index.htm
สื่อมัลติมีเดียเรื่องแมลง เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะมัลติมีเดีย
หรือ Multimedia e-Book ที่กรมวิชาการได้จัดทำขึ้นจากหนังสืออ่านเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น มีรูปแบบน่าสนใจกว่าสื่อสิ่งพิมพ์ ด้วยองค์ประกอบด้านมัลติมีเดียที่หลากหลาย เช่น ภาพเคลื่อนไหว เสียง ฯลฯ จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาที่นำเสนอ
ได้ดียิ่งขึ้นและเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อส่วนประกอบในสื่อ มีดังนี้
1. คำนำ
2. ดรรชนี จำนวน 4 หน้า
3. คณะผู้จัดทำ
4. อธิบายคำศัพท์ จำนวน 5 หน้า
5. หัวข้อเนื้อหา จำนวน 14 เรื่อง
1. แมลงเกิดขึ้นบนโลกเมื่อใด จำนวน 1 หน้า
2. ตัวนี้ไมใช่แมลง จำนวน 1 หน้า
3. นี้คือแมลง จำนวน 1 หน้า
4. การเจริญเติบโตของแมลง จำนวน 3 หน้า
5. แมลงในสวน จำนวน 1 หน้า
6. แมลงในทุ่งนา จำนวน 2 หน้า
7. แมลงในดิน จำนวน 2 หน้า
8. แมลงในน้ำ จำนวน 4 หน้า
9. แมลงในป่าไม้ จำนวน 2 หน้า
10. แมลงในบ้านเรือน จำนวน 6 หน้า
11. แมลงที่เป็นประโยชน์ จำนวน 2 หน้า
12. แมลงที่สร้างรัง จำนวน 4 หน้า
13. ลักษณะแหล่งที่อยู่ประโยชน์และโทษของแมลงที่พบบ่อย จำนวน 17 หน้า
14. วิธีจับและศึกษาแมลง จำนวน 1 หน้า
ลักษณะรูปแบบที่นำเสนอ พบว่า
1. มีเมนูแสดงแสดงหัวข้อในแต่ละเรื่องอย่างหลากหลายครบถ้วน
2. ในแต่ละเรื่องแสดงรายละเอียด อย่างครบถ้วน เข้าใจง่าย
3. รูปเล่มมีสีสันสวยงาม น่าอ่าน
4. ตัวอักษรอ่านง่าย ชัดเจน
5. มีภาพเคลื่อนไหว ทำให้เกิดความน่าสนใจ
6. มีคำบรรยายและรูปภาพประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อหา
7. เสียงบรรยายประกอบภาพเคลื่อนไหว น้ำเสียงชัดเจน
8. มีคำอธิบายศัพท์เพื่อเพิ่มความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
9. มีดรรชนี อ้างอิงแหล่งที่มา
10. ในภาพรวม (มีภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ตัวอักษร สีสัน ) ทำให้เกิดจินตนาการในการเรียนรู้
เกิดความเพลิดเพลิน

สื่อมัลติมีเดียกับทฤษฏีการเรียนรู้
วิเคราะห์สื่อมัลติมีเดียที่สัมพันธ์กับทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
จากการศึกษาพบว่า สื่อมัลติมีเดียเรื่อง แมลง มีสิ่งเร้าที่น่าสนใจมีรูปภาพประกอบคำใช้แบบตัวอักษรสีบรรยายเนื้อหา อ่านแล้วเข้าใจง่าย มีสันสะดุดตาและรูปภาพแมลงมีลักษณะภาพคลายของจริงเป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว กระตุ้นความสนใจให้ชวนดูน่าศึกษาติดตาม เนื้อหาความรู้แต่ละเรื่องจะเรียงลำดับจากเรื่องที่ใกล้ตัวเป็นพื้นฐานความรู้และเรียงลำดับตามความสำคัญของเรื่องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง มีเมนูแสดงรายละเอียดของแต่ละหน้าต่างอย่างครบถ้วน สามารถเข้าไปศึกษาเนื้อหาได้อย่างต่อเนื่องและกลับไปทบทวนเนื้อหาเดิมซ้ำ ๆ ได้ตามที่ต้องการ มีความสอดคล้องกับ ทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม และ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มประมวลสารสารสนเทศ ดังนี้
1. ทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism )
1.1ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ ( Thorndike ‘s classical Connectionism ) ทฤษฎีนี้ กล่าวว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งมีหลายรูปแบบบุคคลจะมีการลองผิดลองถูก(Trial and error)ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเดียว และจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยมกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งตรงกับกฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
- กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) ที่ว่าการฝึกหัดหรือกระทำบ่อยๆ ด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร ถ้าไม่ได้กระทำซ้ำบ่อยๆ การเรียนรู้นั้นจะไม่คงทนถาวร และในที่สุดอาจลืมได้
- กฎแห่งผลที่พึงพอใจ(Law of Effect) ที่ว่าเมื่อบุคคลได้รับผลที่พึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจ จะไม่อยากเรียนรู้ ดังนั้นการได้รับผลที่พึงพอใจ จงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้
หลักการจัดการศึกษา
1. หากต้องการให้ผู้เรียนมีทักษะในเรื่องใดจะต้องช่วยให้เขาเกิดความเข้าใจในเรื่องนั้นอย่างแท้จริงแล้วให้ฝึกฝนโดยกระทำสิ่งนั้นบ่อยๆ แต่ควรระวังอย่างให้ถึงกับซ้ำซาก จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย
2. เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วควรให้ผู้เรียนฝึกนำการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อยๆ
จากแนวคิดทฤษฏีและกฎการเรียนรู้และหลักการจัดการศึกษาของธอร์นไดค์ จะเห็นว่ามีความสัมพันธ์กับสื่อมัลติมีเดีย เรื่องแมลงคือเป็นสื่อที่มีการกระตุ้นดึงดูดความสนใจให้ผู้ศึกษาได้ศึกษาและฝึกทบทวนเนื้อหาบ่อยๆ ได้ตามความสนใจและความเข้าใจของผู้ศึกษาทำให้ผู้ศึกษาเกิดการเรียนรู้ที่คงทนถาวร

1.2ทฤษฏีการวงเงื่อนไขแบบอัตโนมัติ ( classical Connectioning )ของพาฟลอฟ
ทฤษฎีนี้ กล่าวว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจาการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข ( conditioned stimulus)ซึ่งตรงกับกฎการเรียนรู้ของพาฟลอฟ
- กฎแห่งการถ่ายโยงการเรียนรู้สู่สถานการณ์อื่นๆ (Law of Generalization) กล่าวคือ เมื่อเกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไขแล้ว หากมีสิ่งเร้าคล้ายๆ กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขมากระตุ้น อาจทำให้เกิดการตอบสนองที่เหมือนกันได้
- กฎแห่งการจำแนกความแตกต่าง (Law of Discrimination) กล่าวคือ หากมีการใช้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหลายแบบ แต่มีการใช้สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขเข้าคู่กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ก็สามารถช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยสามารถแยกความแตกต่างและเลือกตอบสนองเฉพาะสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเท่านั้นได้
หลักการจัดการศึกษา
1.การเสนอสิ่งเร้าให้ชัดเจนในการสอนจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และตอบสนองได้ชัดเจนขึ้น
2. หากต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมใดๆ ควรมีการใช้สิ่งเร้าหลายแบบแต่ต้องมีสิ่งเร้าที่มีการตอบสนองโดยไม่มีเงื่อนไขควบคู่อยู่ด้วย
จากแนวคิดทฤษฏีและกฏการเรียนรู้และหลักการจัดการศึกษาของพาฟลอฟจะเห็นว่ามีความสัมพันธ์กับสื่อมัลติมีเดียเรื่องแมลงคือ มีสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขคือ มีการเสนอสิ่งเร้าให้ความชัดเจน ในการสอนที่มีภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่งประกอบคำบรรยายมีสีสันสวยงามและมีรูปแบบตัวอักษรเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ศึกษาเกิดความสนใจอยากติดตามเนื้อหาในแต่ละเรื่อง ช่วยให้ผู้ศึกษาเกิดการเรียนรู้ จำ และตอบสนองความต้องการของผู้สอนและตรงตามวัตถุประสงค์ อีกทั้งนักเรียนสามารถจำแนกความแต่งต่างของสิ่งเร้าระหว่างการอ่านแล้วเล่าเรื่องให้ฟังกับการเรียนรู้ทางสื่อมัลติมิเดียสิ่งใดให้ความรู้กับเราได้รวดเร็วและเข้าใจง่าย
1.3 ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่อง ( Contiguous Conditionling ) ของกัทธรี
ทฤษฎีนี้ กล่าวว่า หลักการจูงใจ ( motivation) การเรียนรู้เกิดจากการจูงใจมากกว่าการเสริมแรง
หลักการจัดการศึกษา
- ในการสอนควรวิเคราะห์งานออกเป็นส่วนย่อย และสอนหน่วยย่อยเหล่านั้นให้เด็กสามารถตอบสนองอย่างถูกต้องจริงๆ หรือได้รับการเรียนรู้ที่ถูกต้องในทุกๆ หน่วย
จากแนวคิดทฤษฏีและกฎการเรียนรู้และหลักการจัดการศึกษาของกัทธรีจะเห็นว่ามีความสัมพันธ์กับสื่อมัลติมีเดียเรื่องแมลงคือสื่อมัลติมิเดียเรื่องแมลงเป็นสื่อที่มีการจูงใจด้านสีสัน ภาพเสียง ทำให้เกิดแรงจูงใจอยากติดตามเนื้อหาอยากอ่านและติดตามเรื่องจนจบและสื่อมัลติมิเดียนี้ มีการวิเคราะห์นื้อหาจากหน่วยใหญ่ออกเป็นหน่วยย่อยๆเรียนรู้ตามลำดับของความสำคัญจากเรื่องที่เป็นความรู้พื้นฐานของเรื่องไปสู่เรื่องที่ยากสลับซับซ้อนมากขึ้นซึ่งตรงกับหลักการจัดการศึกษาของกัทธรี
1.4 ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์( Hull ‘s systematic Behavior Theory )ทฤษฎีนี้ กล่าวว่า
กฎแห่งการลำดับกลุ่มนิสัย เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น แต่ละคนจะมีการตอบสนองต่างๆ กัน ในระยะแรกการแสดงออกมีลักษณะง่ายๆ ต่อเมื่อเรียนรู้มากขึ้นก็สามารถเลือกแสดงการตอบสนองในระดับที่สูงขึ้นหรือถูกต้องตามมาตรฐานของสังคม
หลักการจัดการศึกษา
- ในการจัดจัดการเรียนการสอน ควรคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด
- ผู้เรียนมีระดับของการแสดงออกไม่เท่ากัน ในการจัดการเรียนการสอน ควรให้ทางเลือกที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนจะได้สามารถตอบสนองตามระดับความสามารถของตน
จากแนวคิดทฤษฏีและกฏการเรียนรู้และหลักการจัดการศึกษาของฮัลล์จะเห็นว่ามีความสัมพันธ์กับสื่อมัลติมีเดียเรื่องแมลงคือสื่อมัลติมิเดียเรื่องแมลงเป็นสื่อที่ผู้เรียนสามารถที่จะเรียนรู้ในช่วงเวลาใดก็ได้ตามความต้องการของผู้เรียนเมื่อผู้เรียนพร้อมที่จะเรียนก็สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาไม่จำเป็นต้องเรียนรู้เฉพาะในห้องเรียนและยังเป็นสื่อที่ให้ผู้เรียนได้มีทางเลือกที่จะเรียนรู้ว่าต้องการรู้เรื่องอะไรก่อนหลังได้ตามความสนใจอีกทั้งเป็นสื่อความรู้ทางเลือกของผู้เรียนเพราะผู้เรียนบางคนจะเรียนรู้ได้ดีทางประสาทสัมผัสทั้ง 5ครบถึงจะเรียนรู้ได้ดีแต่บางคนอ่านอย่างเดียว หรือฟัง ก็สามารถเรียนรู้ได้แล้วจึงสนองความแตกต่างของบุคคลในการเรียนรู้ได้ดี





2.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม ( Cognitivism )
2.1ทฤษฎีเกสตัลท์ ( Gestalt Theory)ทฤษฎีนี้ กล่าวว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะคือ
1. การรับรู้(Perception) การรับรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าแล้วถ่ายโยงเข้าสู่สมองเพื่อผ่านเข้าสู่กระบวนการคิด สมองหรือจิตจะใช้ประสบการณ์เดิมตีความหมายของสิ่งเร้าและแสดงปฏิกิริยาตอบสนองออกไปตามที่สมอง จิต ตีความหมาย
2. การหยั่งเห็น เป็นการค้นพบหรือการเกิดความเข้าใจในช่องทางแก้ปัญหาอย่างฉับพลันทันที อันเนื่องมาจากผลการพิจารณาปัญหาโดยส่วนรวม และการใช้กระบวนการทางความคิดและสติปัญญาของบุคคลนั้น
หลักการจัดการศึกษา
-การเสนอบทเรียนหรือเนื้อหาควรจัดให้มีความต่อเนื่องกันจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี และรวดเร็ว
การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้แบบหยังเห็นได้มากขึ้น
จากแนวคิดทฤษฏีและกฎการเรียนรู้และหลักการจัดการศึกษาของเกสตัลท์จะเห็นว่ามีความสัมพันธ์กับสื่อมัลติมีเดียเรื่องแมลงคือสื่อมัลติมิเดียเรื่องแมลงเป็นสื่อที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ทางประสาทสัมผัสคือทางสายตา ทางหู ถือว่าเป็น สิ่งเร้าหรือการสร้างประสบการณ์ของผู้เรียนให้หลากหลายผ่านทางตา หู การพูด คือการออกเสียง แล้วถ่ายโยงเข้าสู่สมองเพื่อผ่านเข้าสู่กระบวนการคิด สมองหรือจิตจะใช้ประสบการณ์เดิมตีความหมายของสิ่งเร้าและแสดงปฏิกิริยาตอบสนองออกไปตามที่สมอง จิต ตีความหมายทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ฝึกทักษะการคิดอีกทั้งยังยังมีการนำเสนอเนื้อหาที่ต่อเนื่องกันทำให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็ว
2.2ทฤษฎีสนาม ( Field t Theory)ของ เคิร์ท เลวิน ทฤษฎีนี้ กล่าวว่า
-พฤติกรรมของคนมีพลังและทิศทาง สิ่งใดที่อยู่ในความสนใจและความต้องการของตนจะมีพลังเป็น + สิ่งที่อยู่นอกเหนือจากความสนใจ จะมีพลังงานเป็น - ในขณะใดขณะหนึ่งคนทุกคนจะมี โลก หรือ อวกาศชีวิต(Life space) ของตน ซึ่งจะประกอบไปด้วย สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ( Physica enviroment) อันได้แก่คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ สิ่งแวดล้อมอื่นๆ และสิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา ( Phychological enviroment) ) ซึ่งไดแก่ แรงขับ(drive ) แรงจูงใจ(motivation) เป้าหมายหรือจุดหมายปลายทาง(goal) รวมทั้งความสนใจ(interest )
- การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ
หลักการจัดการศึกษา
-การช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ จำเป็นต้องอาศัยการทำความเข้าใจ โลก ของผู้เรียนว่า ผู้เรียนมีจุดมุ่งหมายและความต้องการอะไร อะไรเป็นพลัง+ และอะไรเป็นพลัง - ของเขา และพยายามจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่จะช่วยให้ผู้เรียนไปสู่จุดหมาย
- การจัดการเรียนรู้ให้เข้าไปอยู่ใน โลกของผู้เรียนโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอน
- การสร้างแรงจูงใจ และ /หรือแรงขับที่จะนำให้ผู้เรียนไปสู่ทิศทางหรือจุดหมายที่ต้องการ เป็นสิ่งที่จำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
จากแนวคิดทฤษฏีและหลักการจัดการศึกษาของเคิร์ท เลวิน จะเห็นว่ามีความสัมพันธ์กับสื่อมัลติมีเดียเรื่องแมลงคือสื่อมัลติมิเดียเรื่องแมลงเป็นสื่อที่มีการสร้างสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้เสมือนเข้าไปอยู่ในสภาพพื้นที่ที่สัตว์ตัวนั้นอาศัยอยู่ทำให้เห็นกระบวนการดำรงชีวิตจริงของแมลงซึ่งเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพให้ผู้เรียนเกิดความสนใจอยากเข้าศึกษาและในขณะเดียวกันการเรียนรู้แบบใหม่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องอ่านเฉพาในหนังสือผู้เรียนสามารถเรียนรู้ทางคอมพิวเตอร์เป็นสื่อเพราะผู้เรียนในระดับประถมและมัธยมศึกษาถือว่าการเรียนทางคอมพิวเตอร์เป็นการรียนรู้ของเด็กสมัยใหม่ จึงเป็นแรงขับหรือเป็นสื่อที่เข้าถึงโลกของผู้เรียนแบบสมัยยุคโลกาภิวัตน์ที่แท้จริงจึงเป็นพลังทาง + ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปตามจุดมุ่งหมาย
2.3ทฤษฎีเครื่องหมาย ( Sign Theory)ของ ทอลแมน ทฤษฎีนี้ กล่าวว่า
ขณะที่ผู้เรียนพยายามจะไปถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้เครื่องหมาย สัญลักษณ์
หลักการจัดการศึกษา
- ในการสอนให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมาย ใดๆ นั้นครูควรให้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่น ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย
- การปรับเปลี่ยนสถานการณ์การเรียนรู้ สามารถช่วยให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนได้
จากแนวคิดทฤษฏีและหลักการจัดการศึกษาของทอลแมนจะเห็นว่ามีความสัมพันธ์กับสื่อมัลติมีเดียเรื่องแมลงคือสื่อมัลติมิเดียเรื่องแมลงเป็นสื่อที่จะต้องเรียนรู้ไปตามขั้นตอน มีเครื่องหมายชี้นำทาง มีสัญลักษณ์รูปภาพ เครื่องหมายที่ชี้นำทางการสรุปความรู้ในเรื่องต่างๆ การเช่นการสรุปวัฏจักรการดำรงชีวิตของแมลง ซึ่งใช้สัญลักษณ์ให้ผุ้เรียนเรียนรู้และจำได้อีกทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของครูจากการสอนโดยการบรรยายอย่างเดียวทำให้ผู้เรียนน่าเบื่อหรือผู้เรียนไม่อยากเรียนไม่ยอมฟังครูผู้สอนแต่เมื่อนำสื่อมัลติมิเดียมาช่วยในการจัดการเรียนการสอนก็สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียนให้มีความกระตือรือร้นอยากที่จะลงมือทำและเรียนรู้ด้วยตนเองโดยถ้าไม่เข้าใจหรือเรียนไม่ทันก็สามารถกลับมาทบทวนเรียนซ้ำได้อีกจนผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ทันเพื่อนและชำนาญเข้าในในเนื้อหาอย่างชัดเจน
2.4 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญา ( Intelectual Development)
2.4.1ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญาของเพียเจต์ ทฤษฎีนี้ กล่าวว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่างๆ เป็นสำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนการขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งเพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามเพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้นพัฒนาการเร็วขึ้น
กระบวนการทางติปัญญามีลักษณะดังนี้
- การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบกาณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่างๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
- การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือกระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาทีตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
- การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างและประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล
หลักการจัดการศึกษา
- เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการแตกต่างกัน ถึงแม้อายุจะเท่ากัน แต่ระดับพัฒนาการอาจไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็กควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา
- ในการสอนควรชิ่งที่เป็นรูปธรรม เพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจลักษณะต่างๆ ได้ดีขึ้นแม้ในพัฒนาการช่วงการคิดแบบรูปธรรมเด็กจะสามารถสร้างภาพในใจได้ แต่การสอนที่ใช้อุปกรณ์ที่เป็นรูปธรรมจะช่วยให้เด็กเข้าใจแจ่มชัดขึ้น
- การเปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้มมากๆ ช่วยให้เด็กดูดซึมข้อมูลเข้าสู่โครงสร้างทางสติปัญญาของเด็กอันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
จากแนวคิดทฤษฏีและหลักการจัดการศึกษาของเพียเจต์จะเห็นว่ามีความสัมพันธ์กับสื่อมัลติมีเดียเรื่องแมลงคือสื่อมัลติมิเดียเรื่องแมลงเป็นสื่อทีแสดงเนื้อหาทั้งที่เป็นรูปภาพ เสียง สัญลักษณ์ทางอักษร เครื่องหมาย ทำให้เห็นรูปเป็นรูปธรรมเด็กได้รับประสบการณ์ และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายก็จะส่งผลให้ผู้เรียนสร้างภาพและเข้าสู่กระบวนการทางสมองทำให้เด็กมีสติปัญาและเรียนรู้เข้าใจในเนื้อหาแจ่มชัดขึ้น
2.4.2ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญาของบรุนเนอร์ ทฤษฎีนี้ กล่าวว่า
- การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
- ทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆคือ
1 ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ( Enactive Stage) คือขั้นของการเรียนรู้จาการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่างๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี การเรียนรู้เกิดจาการกระทำ
2 ขั้นการเรียนรู้จากความคิด ( Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
3 ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์ และนามธรรม) เป็นขั้นการเรียนรูสิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
- การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
- การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุดคือการให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง( discovery learning)
หลักการจัดการศึกษา
1 กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
2 การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
3 การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spira Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
4.ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระ ให้มากเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
5. การสร้างแรงจูงใจภายใจให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน
6 การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
7 การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเองสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
จากแนวคิดทฤษฏีและหลักการจัดการศึกษาของบรุนเนอร์จะเห็นว่ามีความสัมพันธ์กับสื่อมัลติมีเดียเรื่องแมลงคือสื่อมัลติมิเดียเรื่องแมลงเป็นสื่อทีแสดงเนื้อหาทั้งที่เป็นขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ( Enactive Stage) คือขั้นของการเรียนรู้จาการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่างๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสร้างมโนภาพในใจและสร้างองค์ความรู้เป็นความคิดรวบยอดและการเรียนรู้ทางสื่อมัลติมิเดียเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งตรงกับหลักทฤษฏีที่ว่าการเรียนรู้ด้วยตนเองตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียนและเนื้อหาของสื่อก็ได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหาให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็กใช้ศัพท์ที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายจึงเป็นสื่อที่เหมาะสมกับทฤษฏีนี้


3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มการประมวลสารสนเทศ( Information Processing Theory ) ซึ่งเป็นทฤษฎีของคลอสไมเออร์ (Klausmeier) แนวคิด คือ การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ (ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง ซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้ คือ
1. การรับข้อมูล (Input) โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล
2. การเข้ารหัส (Encoding) โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์ (Software)
3. การส่งข้อมูลออก (Output) โดยผ่านทางอุปกรณ์
คลอสไมเออร์ ได้อธิบายกระบวนการประมวลข้อมูลโดยเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการคือ การรู้จัก (Recognition) และความใส่ใจ(Atention)ของบุคคลที่รับสิ่งเร้าที่ตนรู้จักหรือมีความสนใจ สิ่งเร้านั้นจะได้รับการบันทึกลงในความจำระยะสั้น (Short-Term Memory) ซึ่งจะดำรงคงอยู่ในระยะเวลาที่จำกัดมาก แต่ละบุคคลมีความสามารถในการจำระยะสั้นที่จำกัด คนส่วนมากจะสามารถจำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันได้เพียงครั้งละ 7± 2 อย่างเท่านั้น ในการทำงานที่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลไว้ใช้ชั่วคราว อาจจำเป็นต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการจำช่วย เช่น การจัดกลุ่มคำ หรือการท่องซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง ซึ่งจะสามารถช่วยให้จดจำสิ่งนั้นไว้ใช้งานได้ การเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง สามารถทำได้โดยข้อมูลนั้นจำเป็นต้องได้รับการประมวลและเปลี่ยนรูปโดยการเข้ารหัส (Encoding) เพื่อนำไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว (Long Term Memory) ซึ่งอาจต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ เข้าช่วย เช่น การท่องซ้ำหลาย ๆ ครั้ง หรือการทำข้อมูลให้มีความหมายกับตนเอง โดยการสัมพันธ์สิ่งที่เรียนรู้ใหม่กับสิ่งเก่าที่เคยเรียนรู้มาก่อน ซึ่งเรียกว่า เป็นกระบวนการขยายความคิด (elaborative Operations Process) ความจำระยะยาวนี้มี 2 ชนิด คือ ความจำที่เกี่ยวกับภาษา (Semantic) และความจำที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ (episodic) นอกจากจั้นยังอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ความจำ ประเภทกลไกที่เคลื่อนไหว ( motoric memory) หรือความจำประเภทอารมณ์ ความรู้สึก (effective memory )เมื่อข้อมูลข่าวสารได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะยาวแล้ว บุคคลจะ สามารถเรียกข้อมูลต่าง ๆ ออกมาใช้ได้ ซึ่งในการเรียกข้อมูลออกมาใช้ บุคคลจำเป็นต้องถอดรหัสข้อมูล (Decoding) จากความจำระยะยาวนั้น และส่งต่อไปสู่ตัวก่อกำเนิดพฤติกรรมตอบสนอง ซึ่งจะเป็นแรงขับหรือกระตุ้นให้บุคคลมีการเคลื่อนไหว หรือการพูดสนองตอบต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
หลักการจัดการศึกษา
1. เนื่องจากการรู้จัก (Recognition) มีผลต่อการรับรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง หากเรารู้จักสิ่งนั้นมาก่อน เราก็มักจะเลือกรับรู้สิ่งนั้น และนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำต่อไป การที่บุคคลจะรู้จักสิ่งใด ก็ย่อมหมายความว่า บุคคลรู้หรือเคยมีประสบการณ์กับสิ่งนั้นมาก่อน ดังนั้น การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่ แล้วจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น ซึ่งผู้สอนสามารถเชื่องโยงไปถึงสิ่งใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นได้
2. เนื่องจากความใส่ใจ (Attention) เป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการรับข้อมูลเข้ามาไว้ในความจำระยะสั้น ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอน จึงควรจัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น และนำไปเก็บบันทึกไว้ในความจำระยะสั้นต่อไป
3. เนื่องจากข้อมูลที่ผ่านการรับรู้มาแล้ว จะถูกนำไปเก็บไว้ในความจำระยะสั้น ซึ่งนักจิตวิทยาการศึกษาพบว่า จะคงอยู่เพียง 15-30 วินาทีเท่านั้น ดังนั้น หากต้องการที่จะจำสิ่งนั้นนานกว่านี้ ก็จำเป็นต้องใช้วิธีการต่างๆช่วย เช่น การท่องซ้ำกันหลายๆครั้ง หรือการจัดสิ่งที่จำให้เป็นหมวดหมู่ ง่ายแก่การจำ เป็นต้น
4. หากต้องการจะให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใด ๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส (Encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำ ๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด (Elaborative Operations Process) ซึ่งได้แก่ การเรียบเรียง ผสมผสาน ขยายความ และการสัมพันธ์ความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
5. ข้อมูลที่ถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำระยะสั้นหรือระยะยาวแล้ว สามารถเรียกออกมาใช้งานได้โดยผ่าน “Effector” ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นพฤติกรรมทางวาจาหรือการกระทำ (Vocal and Motor Response Generator) ซึ่งทำให้บุคคลแสดงความคิดภายในออกเป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ การที่บุคคลไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เก็บไว้ได้ อาจจะเป็นเพราะไม่สามารถเรียกข้อมูลให้ขึ้นถึงระดับจิตสำนึกได้ (Conscious Level) หรือเกิดการลืมขึ้น
6. เนื่องจากกระบวนการต่าง ๆ ของสมองได้รับการควบคุมโดยหน่วยบริหารควบคุมอีกชั้นหนึ่ง (Executive Control Of Information Processing) ซึ่งเปรียบได้กับโปรแกรมสั่งงาน ซึ่งเป็น “Software” ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้น การที่ผู้เรียนรู้ตัวและรู้จักการบริหารควบคุมกระบวนการทางปัญหาหรือกระบวนการคิดของตนก็จะสามารถทำให้บุคคลนั้นสามารถสั่งงานให้สมองกระทำการต่าง ๆ อันจะทำให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้ เช่น หากผู้เรียนรู้ตัวว่า เรียนวิชาใดวิชาหนึ่งไม่ได้ดี เพราะไม่ชอบครูที่สอนวิชานั้น นักเรียนก็อาจหาทางแก้ปัญหานั้นได้ โดยอาจสร้างแรงจูงใจให้กับตนเอง หรือใช้เทคนิคกลวิธีต่าง ๆ เข้าช่วย
จากแนวคิดทฤษฏีและหลักการจัดการศึกษาของคลอสไมเออร์ Klausmeier)จะเห็นว่ามีความสัมพันธ์กับสื่อมัลติมีเดียเรื่องแมลงคือสื่อมัลติมิเดียเรื่องแมลงเป็นสื่อที มี ภาพประกอบคำบรรยายมีสีสันสวยงามมีภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหวและเนื้อหาสาระที่นักเรียนต้องการศึกษาทำให้ผู้เรียนเกิดการใส่ใจในเนื้อหาเมื่อรับรู้แล้วก็จะประมวลความรู้ทางสมองโดยสมองได้รับการกระตุ้นจากรับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น และถ่ายทอดอีกทั้งยังสามารถกลับมาทบทวนจนเกิดความเข้าสามารถจดจำ จัดระเบียบ เรียบเรียง และรวบรวมความรู้ที่ได้รับกลายเป็นความจำระยะยาวเมื่อมีสิ่งเร้าคล้ายๆกันมากระตุ้นผู้เรียนก็จะเรียกใช้ข้อมูลที่เขาจำและระลึกได้นำมาประยุกต์ใช้และสร้างความสัมพันธ์กับความรู้ใหม่ที่เพิ่มขึ้นได้

*****************************************************************************
ส่งงานที่กระทู้ของอาจารย์ วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม 53 ก่อนเที่ยงคืน
จับคู่คิด ศึกษาสื่อมัลติมีเดีย จากเว็บ
http://61.7.158.13/kan_cai3/index2.htm
http://www.thaiedunet.com/multimedia/
http://210.246.188.51/goverment/index.htm
http://mediacenter.obec.go.th/moe/index.html
http://www.karn.tv/thai.html
http://www.horhook.com/content/index.htm
http://210.246.188.51/index.jsp
ทำ การวิเคราะห์แนวคิด หลักการ ของทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม ปัญญานิยม ประมวลสารสนเทศ แนวคิดของสื่อ
มัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง มัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอ ที่ใช้ในการออกแบบสื่อมัลติมีเดียดังกล่าว
*******************************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น