วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การวิเคราะห์สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

แหล่งที่มา http://www.horhook.com/content/
เป็นสื่อมัลติมีเดียที่จัดทำขึ้นจาก Storyboard ที่ได้รับการคัดเลือกในการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำ Storyboard ของศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการจัดทำโดยนางสุพัชรี ไชยชนะ และ นางสาวเพ็ญศรี ยะนะโชติ
เนื้อหาของ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) นี้ส่วนหนึ่งมาจากกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีการดัดแปลงเนื้อหาบางส่วนให้มีความเหมาะสมกับสื่อดังกล่าว เพื่อให้มีคุณสมบัติพิเศษในการถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเทคนิคการนำเสนอที่หลากหลายทั้งภาพและเสียงช่วยให้ผู้เรียนสนใจและเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เป็นการสนับสนุนให้ครูและนักเรียนมีสื่อที่มีรูปแบบที่ทันสมัย สามารถนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน หรือศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองได้

จุดประสงค์
• เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก
• เพื่อให้ครูผู้สอนมีสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย
• เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้
ส่วนประกอบของสื่อ
1.หน้าปก
2.คำนำ
3.สารบัญ
การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
• การตัดไม้ทำลายป่า
• การทำเกษตรกรรม
• การชลประทาน
• การทำเหมืองแร่
• การทำอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง
การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่เกิดจากการกระทำของธรรมชาติ
• การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก
• การเกิดแผ่นดินไหว
• การเกิดภูเขาไฟ
• การเกิดภูเขา
• การกร่อน
ผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก
4.เนื้อเรื่อง
5.ดรรชนี
6.รายชื่อคณะผู้จัดทำ




รายละเอียดเนื้อหา
เนื้อหาที่ผู้จัดทำได้นำเสนอคือให้ความรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการกระทำของธรรมชาติ และผลที่เกิดจากการการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก

องค์ประกอบของสื่อ
สื่อมัลติมิเดียเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกนี้ มีองค์ประกอบที่น่าสนใจดังนี้
ในแต่ละหน้ามีส่วนของเนื้อหา มีเสียงบรรยาย มีภาพประกอบทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ มีความสอดคล้องกับเนื้อหา ปุ่มรายการ ปุ่มไปยังหน้าถัดไป และย้อนกลับไปยังหน้าที่ผ่านมา เลขหน้าที่กำลังอ่านอยู่ในขณะนั้น ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้หรือศึกษาด้วยตัวเองได้
เนื้อหาสาระเหมาะสมกับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อประกอบการเรียนการสอนในวิชาวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเจที่นักเรียนต้องเรียนรู้กับครูผู้สอนเพียงอย่างเดียว ในขณะเดียวกันยังสร้างความตื่นตาตื่นใจในขณะที่เรียนรู้อีกด้วย นอกจากนี้เนื้อหายังสอดแทรกเนื้อหาที่จะทำให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์อีกด้วย


แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่สอดคล้องในการประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
1. ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ คือ
1.1 การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูกด้วยตนเองบ้าง จะเป็นการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหา โดยสามารถจดจำผลจากการเรียนรู้ได้ดี รวมทั้ง
เกิดความภาคภูมิใจในการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
1.2 หากต้องการให้ผู้เรียนเกิดทักษะในเรื่องใดแล้ว ต้องให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ อย่างถ่องแท้ และให้ผู้เรียนฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
2. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของวัตสัน
2.1 การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง เช่น การอธิบายความเหมือน และบอกความแตกต่างของสัตว์แต่ละชนิดได้เมื่อศึกษาเนื้อหารายละเอียดจากสื่อเรียบร้อยแล้ว
3.ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์
3.1ในการจัดการเรียนการสอน ควรคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด ถ้าสื่อมัลติมีเดียมีความยากเกินไปไม่เหมาะสมกับช่วงอายุของเด็กก็จะทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจและไม่เกิดความรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม
1. ทฤษฎีเครื่องหมาย ในการสอนให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ นั้น ครูควรให้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย
2. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
2.1 ในการพัฒนาเด็ก ควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กและจัดประสบการณ์ให้เด็กอย่างเหมาะสม กับพัฒนาการนั้นไม่ควรบังคับให้เด็กเรียนในสิ่งที่ยังไม่พร้อม หรือยากเกินพัฒนาการตามวัยของตน เพราะจะก่อให้เกิดเจตคติที่ไม่ดีได้
- เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการแตกต่างกัน ถึงแม้อายุจะเท่ากัน แต่พัฒนาการอาจไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา
- ในการสอนควรใช้สิ่งที่เป็นรูปธรรม เพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจลักษณะต่างๆ ได้ดีขึ้น แม้ในพัฒนาการช่วงความคิดแบบรูปธรรมเด็กจะสามารถสร้างภาพในใจได้ แต่การสอนที่ใช้อุปกรณ์ที่เป็นรูปธรรม จะช่วยให้เด็กเข้าใจแจ่มชัดขึ้น
2.2 การให้ความสนใจและสังเกตเด็กอย่างใกล้ชิดจะช่วยให้ทราบลักษณะเฉพาะตัวของเด็ก
3.ทฤษฎีเกสตัลท์
3.1 กระบวน การคิดเป็นกระบวนการสำคัญในการเรียนรู้ การส่งเสริมกระบวนการคิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้ผู้ เรียนเกิดการเรียนรู้
3.2 การสอนโดยการเสนอภาพรวมให้ผู้เรียนเห็นและเข้าใจก่อนการเสนอส่วนย่อย จะช่วย
ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
3.3 การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มาก ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายจะช่วยให้
ผู้เรียนสามารถคิดแก้ปัญหาและคิดริ เริ่มได้มากขึ้น
3.4 การจัดประสบการณ์ใหม่ ให้มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมของผู้เรียนจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถ เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น
3.5 ในการสอนครูไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเสนอการสอนทั้งหมดที่สมบูรณ์ครูสามารถเสนอ เนื้อหาแต่เพียงบางส่วนได้ หากผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมมาเติมให้สมบูรณ์
3.6 การเสนอบทเรียนหรือเนื้อหาควรจัดให้มีความต่อเนื่องกันจะช่วยให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ได้ดี และรวดเร็ว
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มประมวลสารสนเทศ
ในการจัดการเรียนการสอนนั้นควรตระหนักถึงสิ่งที่ผู้เรียนเคยรู้มาก่อนที่ถูกบันทึกเก็บไว้ในความจำระยะยาว ซึ่งมีอิทธิพลกับการเรียนรู้ใหม่ (Siegler, 1983) ดังนั้นเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเก็บบันทึกความรู้ต่างๆที่ได้เรียนรู้ไว้ในความจำระยะยาวและสามารถเรียกกลับมาใช้ได้นั้น ผู้สอนควรพยายามสร้างสะพานที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่ผู้เรียนเคยรู้มาก่อน กับสิ่งที่จะเรียนรู้ใหม่ โดยวิธีการต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว เช่น การทบทวน การทำซ้ำๆ (Rehearsal) การเรียบเรียงและรวบรวม (Organize) การขยายความ หรือขยายความคิด (Elaborate) เป็นต้น

กานเย่ได้เสนอระบบการสอน 9 ขั้นดังนี้
ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ (gaining attention) เป็นขั้นที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน เป็นเรียงจูงใจที่เกิดขึ้นทั้งจากสิ่งยั่วยุภายนอกและแรงจูงใจที่เกิดจากตัวผู้เรียนเองด้วย ครูอาจใช้วิธีการสนทนา ซักถาม ทายปัญหา หรือมีวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัว และมีความสนใจที่จะเรียนรู้
ขั้นที่ 2 แจ้งจุดจุดประสงค์ (informing the learner of the objective) เป็นการบอกให้ผู้เรียนทราบถึงเป้าหมายหรือผลที่จะได้รับจากการเรียนบทเรียนนั้นโดยเฉพาะ เพื่อให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์ในการเรียน เห็นแนวทางของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทางที่จะนำไปสู่จุดหมายได้เป็นอย่างดี
ขั้นที่ 3 กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(stimu-lating recall of prerequisite learned capabilities) เป็นการทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงให้เกิดการเรียนรู้ความรู้ใหม่ เนื่องจากการเรียนรู้เป็นกระบวนการต่อเนื่อง การเรียนรู้ความรู้ใหม่ต้องอาศัยความรู้เก่าเป็นพื้นฐาน
ขั้นที่ 4 เสนทอบทเรียนใหม่ (presenting the stimulus) เป็นการเริ่มกิจกรรมของบทเรียนใหม่โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เหมาะสมมาประกอบการสอน
ขั้นที่ 5 ให้แนวทางการเรียนรู้ (providing learning guidance) เป็นการช่วยให้ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ครูอาจแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าเป็นการนำทาง ให้แนวทางให้ผู้เรียนไปคิดเอง เป็นต้น
ขั้นที่ 6 ให้ลงมือปฏิบัติ (eliciting the performance) เป็นการให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถแสดงพฤตกรรมตามจุดประสงค์
ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) เป็นขั้นที่ครูให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการปฏิบัติกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออกว่ามีความถูกต้องหรือไม่อย่างไร และเพียงใด
ขั้นที่ 8 ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ (assessing the performance) เป็นขั้นการวัดและประเมินว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ของบทเรียนเพียงใด ซึ่งอาจทำการวัดโดยการใช้ข้อสอบ แบบสังเกตการตรวจผลงาน หรือการสัมภาษณ์ แล้วแต่ว่าจุดประสงค์นั้นต้องการวัดพฤติกรรมด้านใดแต่สิ่งที่สำคัญคือ เครื่องมือที่ใช้วัดจะต้องมีคุณภาพ มีความเชื่อถือได้ และมีความเที่ยงตรงในการวัด
ขั้นที่ 9 ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้ (enhancing retention and transfer) เป็นการสรุป การย้ำ ทบทวนการเรียนที่ผ่านมาเพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ฝังแน่นขึ้น กิจกรรมในขั้นนี้อาจเป็นแบบฝึกหัด การให้ทำกิจกรรมเพิ่มพูนความรู้ รวมทั้งการให้ทำการบ้าน การทำรายงาน หรือหาความรู้เพิ่มเติมจากความรู้ที่ได้ในชั้นเรียน
สรุปว่า จากการศึกษาวิเคราะห์ สื่อมัลติมิเดีย เรื่องการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกนี้แล้วเมื่อดูจากทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แล้วพบว่า
1. สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (ทฤษฎีของฮัลล์) ที่ว่า ในการจัดการเรียนการสอน ควรคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด ถ้าสื่อมัลติมีเดียมีความยากเกินไปไม่เหมาะสมกับช่วงอายุของเด็กก็จะทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจและไม่เกิดความรู้
2. สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม ที่ว่า ทฤษฎีเครื่องหมาย ในการสอนให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ นั้น ครูควรให้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย
3. สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น