1.ลักษณะของสื่อ
แผน นำเนื้อหาจากบทอ่านในหนังสือเรียนภาษาไทยชุดพื้นฐานภาษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เล่ม ๒ตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช๒๕๒๑( ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๓๓) ของกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะมัลติมีเดียเล่มนี้มีองค์ประกอบด้านมัลติมีเดียที่หลากหลาย เช่น ภาพเคลื่อนไหวเสียงอ่านบทร้อยกรอง ฯลฯซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียน
การเผยแพร่ คือให้บริการบนอินเทอร์เน็ตผ่านทางเว็บไซต์กรมวิชาการ (www.moe.go.th) และสำเนาในรูปซีดีรอมให้โรงเรียนที่ยังไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยมีรายละเอียดในสื่อในแต่ละหน้าประกอบด้วย
- หน้าแรก
จะประกอบไปด้วยภาพในเนื้อเรื่องขุนช้างขุนแผนมีทั้งหมด 3 ภาพภาพจะสไลด์เปลี่ยนกันโดย
- คำนำ
จะบอกถึงวัตถุประสงค์ของหนังสืออิเลคทรอนิคเล่มนี้
- บทนำเรื่อง
มีทั้งหมด 6 หน้า ในแต่ละหน้าจะอธิบายในแต่ละตอนใน 1 หน้า ไม่มีเสียงพูดและไม่มีภาพเคลื่อนไหว
- ตัวละครสำคัญ
หน้านี้ จะประกอบด้วยตัวละคร 3 ตัว คือ ขุนช้าง ขุนแผน และนางพิมพิไลย ซึ่งจะเขียนชื่อกำกับ โดยให้อ่านเอง ไม่มีการบรรยาย
- บทร้อยกรอง
มีทั้งสิ้น 14 หน้า ซึ่งในแต่ละหน้าจะมีบทร้อยกรองทั้งหมด 5 บท จะมีภาพประกอบ จะมีเสียงการอ่านบทร้อยกรอง จะเป็นการขับเสภา เป็นเสียงผู้ชาย เป็นเมื่อผู้เรียนคลิกที่สัญญลักษณ์รูปลำโพงที่ปรากฎอยู่บนภาพจะได้ยินเสียงการขับเสภาที่ไพเราะน่าฟัง
- คำอธิบายศัพท์
จะมีคำศัพท์ต่างๆที่ปรากฏในบทร้อยกรองในเรื่อง ซึ่งจะเป็นคำศัพท์ที่ยาก ในแต่ละคำจะแสดงความหมาย
- คณะผู้จัดทำ
จะประกอบไปด้วย ที่ปรึกษา ผู้เขียนสตอรี่บอร์ด ผู้ตรวจ และบรรณาธิการ
- บรรณานุกรม
จะแสดงที่มาของเรื่องนี้
- ภาคผนวก
จะมีอยู่ 2 หน้า หน้าแรกจะกล่าวถึงผู้ขับเสภาว่าเป็นใครมาจากที่ไหน ส่วนหน้าที่ 2 จะเป็นรูปผู้ขับเสภา
2.สรุปตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพฤติกรรมนิยม ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญ 3 แนวคิด (ทิศนา แขมมณี. 2548 : 50) ดังต่อไปนี้
1. ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory)
2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
2.1 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติ
2.2 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่อง
2.3 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบวางเงื่อนไข
3. ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)
1. ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory) ซึ่ง (ทิศนา แขมมณี. 2548 : 50) ได้บอกแนวหลักการจัดการเรียนการสอนไว้
1. การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูกด้วยตนเองบาง จะเป็นการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหา โดยสามารถจดจำผลจากการเรียนรู้ได้ดี รวมทั้งเกิดความภาคภูมิใจในการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะมัลติมีเดีย(Multimedia e-Book)เรื่องขุนช้าง ขุนแผน ตอนพลายงามทูลขอโทษให้ขุนแผนเล่มนี้ ให้ผู้เรียนได้ศึกษาเอง แล้วฝึกการขัยเสภาตามตัวอย่างที่มีในเนื้อหา แต่ไม่มีการลองผิดลองถูกไม่มีแบบฝึกหัด แบบทดสอบก่อนเรียนหรือหลังเรียน
2. การสำรวจความพร้อมหรือการสร้างความพร้อมทางการเรียนให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินการก่อนการเรียนเสมอ
อิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะมัลติมีเดีย(Multimedia e-Book)เรื่องขุนช้าง ขุนแผน ตอนพลายงามทูลขอโทษให้ขุนแผนเล่มนี้ไม่มีการเตรียมความพร้อมทางการเรียนรู้ แต่ได้กำหนดเนื้อหาว่าอยู่ในระดับไหน
3. หากต้องการให้ผู้เรียนเกิดทักษะในเรื่องใดแล้ว ต้องให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างถ่องแท้ และให้ผู้เรียนฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
อิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะมัลติมีเดีย(Multimedia e-Book)เรื่องขุนช้าง ขุนแผน ตอนพลายงามทูลขอโทษให้ขุนแผนเล่มนี้เป็นการฝึกให้ผู้เรียนได้ฝึกการขับเสภาเพราะในสื่อเล่มนี้จะเน้นที่การขัยเสภา โดยมีตัวอย่างในการฝึกขับทั้งหมด 14 หน้า
4. เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้ว ควรให้ผู้เรียนฝึกนำการเรียนรู้นั้นไปใช้
อิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะมัลติมีเดีย(Multimedia e-Book)เรื่องขุนช้าง ขุนแผน ตอนพลายงามทูลขอโทษให้ขุนแผนเล่มนี้โดยมีวัตถุประสงค์บอกไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้นักเรียนฝึกขับเสภา
5. การให้ผู้เรียนได้รับผลที่น่าพึงพอใจ จะช่วยให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ
ไม่มี
2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
2.1 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติ
ไม่สอดคล้อง
การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
1. ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างทางด้านอารมณ์มีแบบแผน การตอบสนองได้ไม่เท่ากัน จำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพทางอารมณ์ผู้เรียนว่าเหมาะสมที่จะสอนเนื้อหาอะไร
2. การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ด้วย โดยปกติผู้สอนสามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาที่เรียนหรือสิ่งแวดล้อมในการเรียน
3. การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข ผู้เรียนที่ถูกวางเงื่อนไขให้กลัวผู้สอน เราอาจช่วยได้โดยป้องกันไม่ให้ผู้สอนทำโทษเขา
4. การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง เช่น การอ่านและการสะกดคำ ผู้เรียนที่สามารถสะกดคำว่า "round" เขาก็ควรจะเรียนคำทุกคำที่ออกเสียง o-u-n-d ไปในขณะเดียวกันได้ เช่นคำว่า found, bound, sound, ground, แต่คำว่า wound (บาดแผล) นั้นไม่ควรเอาเข้ามารวมกับคำที่ออกเสียง o - u - n - d และควรฝึกให้รู้จักแยกคำนี้ออกจากกลุ่ม
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี
การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
1 การนำหลักการเรียนรู้ไปใช้ จากการหลักการเรียนรู้ที่ว่าการเรียนรู้เกิดจากการกระทำหรือการตอบสนองเพียงครั้งเดียว ได้ต้องลองกระทำหลาย ๆ ครั้ง หลักการนี้น่าจะใช้ได้ดีในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก และผู้มีประสบการณ์เดิมมากกว่าผู้ไม่เคยมีประสบการณ์เลย
อิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะมัลติมีเดีย(Multimedia e-Book)เรื่องขุนช้าง ขุนแผน ตอนพลายงามทูลขอโทษให้ขุนแผนเล่มนี้จะเน้นการฝึกหัดการขับเสภา และให้ผู้เรียนเข้าใจในคำศัพท์ที่ยาก จึงมีการแปรความหมายให้ชัดเจน แสดงว่ายิ่งฝึกทำซ้ำหลายๆครั้งก็จะเกิดความชำนาญ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีนี้
2 ถ้าต้องการให้อินทรีย์เกิดการเรียนรู้ควรใช้การจูงใจ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมมากกว่าการเสริมแรง
ไม่มีในสื่อนี้
3 เนื่องจากแนวความคิดของกัทธรีคล้ายคลึงกับแนวความคิดของวัตสันมาก ดังนั้นการนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนก็เป็นไปในทำนองเดียวกันกับทฤษฎีของวัตสันนั้นเอง
ไม่มีในสื่อนี้
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์
การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
ไม่สอดคล้องเลย
1. ในการสอน การให้การเสริมแรงหลังการตอบสนองที่เหมาะสมของเด็กจะช่วยเพิ่มอัตราการตอบสนองที่เหมาะสม
2. การเว้นระยะการเสริมแรงอย่างไม่เป็นระบบ หรือเปลี่ยนรูปแบบการเสริมแรงจะช่วยให้การตอบสนองของผู้เรียนคงทนถาวร
3. การลงโทษที่รุนแรงเกินไป มีผลเสียมาก ผู้เรียนอาจไม่ได้เรียนรู้หรือจำสิ่งที่เรียนรู้ไม่ได้ ควรใช้วิธีการงดการเสริมแรงเมื่อผู้เรียนมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
4. หากต้องการเปลี่ยนพฤติกรรม หรือปลูกฝังนิสัยให้แก่ผู้เรียน ควรแยกแยะขั้นตอนของปฏิกิริยาตอบสนองออกเป็นลำดับขั้น โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน และจึงพิจารณาแรงเสริมที่จะให้แก่ผู้เรียน
ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)
ไม่สอดคล้องเลย
การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
1. ในการจัดการเรียนการสอน ควรคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด
2. ผู้เรียนมีระดับของการแสดงออกไม่เท่ากัน ในการจัดการเรียนการสอน ควรให้ทางเลือกที่หลากหลาย เพื่อผู้เรียนจะได้สามารถตอบสนองตามระดับความสามารถของตน
3. การให้การเสริมแรงในช่วงที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายมากที่สุด จะช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
2. ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญของกลุ่มปัญญานิยม มีดังต่อไปนี้
1. ทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่ม เกสตัลท์ ( Gestalt Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญของทฤษฎีนี้ คือ แมกซ์ เวอร์ไทม์เมอร์ (Max Wertheimer) วุล์ฟแกงค์ โคห์เลอร์ (Wolfgang Kohler) เคิร์ท คอฟฟ์กา (Kurt Koffka)
2. ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) ของทอลแมน (Tolman)
3. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญคือ เพียเจต์ (Piaget) และ บรุเนอร์ (Bruner)
4. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learnning) ของ ออซูเบล (Ausubel)
5. ทฤษฎีสนาม (Field Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญคือ เคิร์ท เลวิน (Kurt Lewin) ซึ่งเคยอยู่ในกลุ่มทฤษฎีของเกสตัลท์และได้แยกตัวออกมาในภายหลัง
6. ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา (Cognitive Flexibility Theory)
7. ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema Theory) มีนักจิตวิทยาที่สำคัญ คือรูเมลฮาร์ทและออโทนี่ (Rumelhart and Ortony)
หลักการจัดการศึกษา / การสอน ตามแนวคิดจากกลุ่มเกสตัลท์
ไม่สอดคล้อง
1. กระบวน การคิดเป็นกระบวนการสำคัญในการเรียนรู้การส่งเสริมกระบวนการคิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
2. การสอนโดยการเสนอภาพรวมให้ผู้เรียนเห็นและเข้าใจก่อนการเสนอส่วนย่อยจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
3. การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถคิดแก้ปัญหาและคิดริเริ่มได้มากขึ้น
4. การจัดประสบการณ์ใหม่ให้มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมของผู้เรียนจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น
5. การจัดระเบียบสิ่งเร้าที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้ดีคือการจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน
6. ในการสอนครูไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเสนอการสอนทั้งหมดที่สมบูรณ์ครูสามารถเสนอเนื้อหาแต่เพียงบางส่วนได้หากผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมมาเติมให้สมบูรณ์
7. การเสนอบทเรียนหรือเนื้อหาควรจัดให้มีความต่อเนื่องกันจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี และรวดเร็ว
8. การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายจะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้มากขึ้น
หลักการจัดการศึกษา / การสอน ตามแนวคิดของทฤษฎีเครื่องหมาย
1. การสร้างแรงขับ และ /หรือแรงจูงใจให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนจะกระตุ้นให้ผู้เรียนไปให้ถึงจุดมุ่งหมายที่ต้องการ
ไม่สอดคล้อง
2. ในการสอนให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ นั้น ครูควรให้เครื่องหมายสัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย
สอดคล้องกับทฤษฎีนี้ที่ว่า มีการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เช่น รูปลำโพง ทำให้ผู้เรียนเข้าใจว่าต้องมีเสียงเมื่อคลิกในรูปนี้แล้ว หรือ รูปลุกศร ไปและรูปลูกศรกลับ แสดงว่ายังมีหน้าต่อไปอีก ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรุ้ด้วยตนเองได้
3. การเรียนรู้บางอย่างอาจไม่สามารถแสดงออกได้ในทันทีการใช้วิธีการทดสอบหลายๆวิธี ทดสอบบ่อยๆ หรือติดตามผลระยะยาวจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในลักษณะนี้
ไม่มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้นี้ เป็นการเรียนที่ทำให้นักเรียนฝึกเพียงอย่างเดียว
หลักการจัดการศึกษา / การสอนตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ของเพียเจต์
ไม่สอดคล้อง
1. ในการพัฒนาเด็กควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กและจัดประสบการณ์ให้เด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้นไม่ควรบังคับให้เด็กเรียนในสิ่งที่ยังไม่พร้อมหรือยากเกินพัฒนาการตามวัยของตน เพราะจะก่อให้เกิดเจตคติที่ไม่ดีได้
1.1 การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามวัยของตนสามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปสู่พัฒนาการขั้นสูงได้
1.2 เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการแตกต่างกันถึงแม้อายุจะเท่ากัน แต่พัฒนาการอาจไม่เท่ากันดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็กควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา
1.3 ในการสอนควรใช้สิ่งที่เป็นรูปธรรมเพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจลักษณะต่างๆ ได้ดีขึ้นแม้ในพัฒนาการช่วงความคิดแบบรูปธรรมเด็กจะสามารถสร้างภาพในใจได้แต่การสอนที่ใช้อุปกรณ์ที่เป็นรูปธรรม จะช่วยให้เด็กเข้าใจแจ่มชัดขึ้น
2. การให้ความสนใจและสังเกตเด็กอย่างใกล้ชิดจะช่วยให้ทราบลักษณะเฉพาะตัวของเด็ก
3. ในการสอนเด็กเล็กๆ เด็กจะรับรู้ส่วนรวม (whole) ได้ดีกว่าส่วนย่อย (part) ดังนั้นครูจึงควรสอนภาพรวมก่อนแล้วจึงแยกสอนที่ละส่วน
4. ในการสอนสิ่งใดให้กับเด็กควรเริ่มจากสิ่งที่เด็กคุ้นเคยหรือมีประสบการณ์มาก่อนแล้วจึงเสนอสิ่งใหม่ที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งเก่าการกระทำเช่นนี้ช่วยให้กระบวนการซึมซับและการจัดระบบความรู้ของเด็กเป็นไปด้วยดี
5. การเปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆช่วยให้เด็กดูดซึมข้อมูลเข้าสู่โครงสร้างทางสติปัญญาของเด็กอันเป็นการส่งเสริมพัฒนาทางสติปัญญาของเด็ก
หลักการจัดการศึกษา /การสอนตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
1. กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
2. การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
มีเนื้อหาที่ง่ายเหมาะสมกับวัย และมีรายละเอียดครบถ้วนที่ชัดเจน
หลักการจัดการศึกษา /การสอนตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของออซูเบล
ไม่สอดคล้อง
ออซูเบล เชื่อว่าการเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียนหากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อนการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์ หรือกรอบความคิด (Advance Organizer) เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมายจากการสอนหรือบรรยายของครู โดยการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างความรู้ที่มีมาก่อนกับข้อมูลใหม่หรือความคิดรวบยอดใหม่ ที่จะต้องเรียนจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายที่ไม่ต้องท่องจำหลักการทั่วไปที่นำมาใช้
การนำหลักการทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้
1. ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเองและมีอิสระที่จะให้ผู้เรียนแสดง
ความคิดเห็นอย่างเต็มที่ทั้งที่ถูกและผิดเพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของ
ข้อมูลและเกิดการหยั่งเห็น
2. เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในชั้นเรียนโดยใช้แนวทางต่อไปนี้
2.1. เน้นความแตกต่าง
2.2 กระตุ้นให้มีการเดาและหาเหตุผล
2.3. กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม
2.4. กระตุ้นให้ใช้ความคิดอย่างรอบคอบ
2.5. กำหนดขอบเขตไม่ให้อภิปรายออกนอกประเด็น
3. การกำหนดบทเรียนควรมีโครงสร้างที่ มีระบบเป็นขั้นตอนเนื้อหามีความ
สอดคล้องต่อเนื่องกัน
4. คำนึงถึงเจตคติและความรู้สึกของผู้เรียนพยายามจัดกิจกรรมที่กระตุ้นความสนใจ
ของผู้เรียนมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ผู้เรียนนำไปใช้ประโยชน์ได้และควรจัดโอกาส
ให้ผู้เรียนรู้สึกประสบความสำเร็จด้วย
5. บุคลิกภาพของครูและความสามารถในการถ่ายทอดจะเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้เรียนมีความศรัทธาและครูจะสามารถเข้าไปอยู่ใน Life space ของผู้เรียนได้
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มประมวลสารสนเทศ (Information Processing Theory)
ไม่สอดคล้อง
การออกแบบบทเรียนบนเว็บตามหลักการจัดการเรียนการสอน 9 ขั้นตอนของกาเย่
การเรียนการสอนออนไลน์เหมือนกับการเรียนการสอนในชั้นเรียนตรงที่ครูผู้สอนจะต้องจัดเตรียมกิจกรรมและประสบการณ์เรียนให้กับผู้เรียนโดยคำนึงถึงและการเรียนการสอนที่ดีนั้น ผู้เรียนและผู้สอนควรต้องปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันดังนั้นการเรียนการสอนออนไลน์จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่การสร้างบทเรียนบนเว็บเพื่อให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาเนื้อหาบทเรียนเท่านั้นหากแต่ยังต้องมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญนักเทคโนโลยีการศึกษาส่วนใหญ่จึงยึดตามการจัดการเรียนการสอนตามกระบวนการ 9 ขั้นตอนของกาเย่ ในการออกแบบและพัฒนาบทเรียนบนเว็บดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 กระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนเกิดความสนใจกับบทเรียนและเนื้อหาที่จะเรียน (Motivate the Learner) การเร้าความสนใจผู้เรียนนี้อาจทำได้โดยการจัดสภาพแวดล้อมให้ดึงดูดความสนใจ เช่นการใช้ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหวและ/หรือการใช้เสียงประกอบบทเรียนในส่วนบทนำ
มีความสอดคล้องกับทฤษฎีนี้เพราะ มีการเร้าให้ผู้เรียนเกิดการความสนใจกับการฝึกการขับเสภาและในเนื้อหาที่จะเรียนโดยมีภาพประกอบที่สวยงาม และมีเสียงในการขับเสภาทั้งเสียงผู้หญิงและเสียงผู้ชายที่ฟังแล้วไพเราะ และชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของทั้ง 2 เสียง
ขั้นตอนที่ 2 บอกให้ผู้เรียนทราบถึงจุดประสงค์ของบทเรียน (Inform Learners of Learning Objectives) การบอกให้ผู้เรียนทราบถึงจุดประสงค์ของบทเรียนนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะการเรียนการสอนบนเว็บที่ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้โดยการเลือกศึกษาเนื้อหาที่ต้องการศึกษาได้เองดังนั้นการที่ผู้เรียนได้ทราบถึงจุดประสงค์ของบทเรียนล่วงหน้าทำให้ผู้เรียนสามารถมุ่งความสนใจไปที่เนื้อหาบทเรียนที่เกี่ยวข้องอีกทั้งยังสามารถเลือกศึกษาเนื้อหาเฉพาะที่ตนยังขาดความเข้าใจที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตรงตามจุดประสงค์ของบทเรียนที่ได้กำหนดไว้
มีความสอดคล้องกับทฤษฎีนี้เพราะก่อนที่จะเริ่มบทเรียนชี้ให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ และความสำคัญ ของหนังสืออิเลคทรอนิคเล่มนี้และมีการเลือกเนื้อหาที่ยากที่นักเรียนเข้าใจยาก ทำให้นักเรียนได้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น
ขั้นตอนที่ 3 ทบทวนความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียน (Recall Previous Knowledge) การทบทวนความรู้เดิมช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาใหม่ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น รูปแบบการทบทวนความรู้เดิมในบทเรียนบนเว็บทำได้หลายวิธีเช่นกิจกรรมการถาม-ตอบคำถามหรือการแบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนอภิปรายหรือสรุปเนื้อหาที่ได้เคยเรียนมาแล้วเป็นต้น
ไม่สอดคล้อง
ขั้นตอนที่ 4 นำเสนอบทเรียน (Present the Material to be Learned) การนำเสนอบทเรียนบนเว็บสามารถทำได้หลายรูปแบบด้วยกันคือการนำเสนอด้วยข้อความ รูปภาพ เสียง หรือแม้กระทั่งวีดิทัศน์อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่ผู้สอนควรให้ความสำคัญก็คือผู้เรียนผู้สอนควรพิจารณาลักษณะของผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้การนำเสนอบทเรียนเหมาะสมกับผู้เรียนมากที่สุด
มีความสอดคล้องกับทฤษฎีนี้เพราะ มีการนยำเสนอบทเรียนบนเว็บ ผู้เรียน เรียนรู้ผ่านทางเว็บ สามารถเรียนได้ในทุกที่ ที่มีอินเตอร์เน็ต สำหรับผู้เรียนที่ไม่สามารถเรียนรู้ผ่านเว็บได้ก็มีวีซีดี เรียนรู้ผ่านจอคอมพิวเตอร์ได้ และมีการนำเสนอข้อความ รูปภาพ เสียงที่น่าสนใจ
ขั้นตอนที่ 5 ชี้แนวทางการเรียนรู้ (Provide Guidance for Learning) การชี้แนวทางการเรียนรู้หมายถึงการชี้แนะให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนใหม่ผสมผสานกับความรู้เก่าที่เคยได้เรียนไปแล้วเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็วและมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ไม่สอดคล้อง
ขั้นตอนที่ 6 ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน (Active Involvement) นักการศึกษาต่างทราบดีว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นจากการที่ผู้เรียนได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนโดยตรง ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนบนเว็บจึงควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนซึ่งอาจทำได้โดยการจัดกิจกรรมการสนทนาออนไลน์รูปแบบ Synchronous หรือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านเว็บบอร์ดในรูปแบบ Asynchronous เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 7 ให้ผลย้อนกลับ (Provide Feedback) ลักษณะเด่นประการหนึ่งของการเรียนการสอนบนเว็บก็คือการที่ผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนได้โดยตรงอย่างใกล้ชิดเนื่องจากบทบาทของผู้สอนนั้นเปลี่ยนจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แต่เพียงผู้เดียวมาเป็นผู้ให้คำแนะนำและช่วยกำกับการเรียนของผู้เรียนรายบุคคลและด้วยความสามารถของอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลาทำให้ผู้สอนสามารถติดตามก้าวหน้าและสามารถให้ผลย้อนกลับแก่ผู้เรียนแต่ละคนได้ด้วยความสะดวก
ขั้นตอนที่ 8 ทดสอบความรู้(Testing) การทดสอบความรู้ความสามารถผู้เรียนเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งเพราะทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนได้ทราบถึงระดับความรู้ความเข้าใจที่ผู้เรียนมีต่อเนื้อหาในบทเรียนนั้นๆการทดสอบความรู้ในบทเรียนบนเว็บสามารถทำได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นข้อสอบแบบปรนัยหรืออัตนัยการจัดทำกิจกรรมการอภิปรายกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มย่อยเป็นต้น ซึ่งการทดสอบนี้ผู้เรียนสามารถทำการทดสอบบนเว็บผ่านระบบเครือข่ายได้
ขั้นตอนที่ 9 การจำและการนำไปใช้ (Providing Enrichment or Remediation) สามารถทำได้โดยการกำหนดตัวเชื่อม (Links)ที่อนุญาตให้ผู้เรียนเลือกเข้าไปศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมในสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์ในการนำองค์ความรู้ที่ได้รับมาไปใช้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น